2.พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย

การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย

   ความสำคัญของการเมือง การเมืองคือการจัดสรรอำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ ประการแรก เป็นอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประการที่สอง จุดมุ่งหมายของการใช้อำนาจต้องเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน การเมืองมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของ ประชาชน คือถ้าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ก็ตระหนักดีว่า ถ้าระบบการเมืองดีจะทำให้ได้ผู้นำที่ดี และผู้นำที่ดีย่อมสร้างสรรค์ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ดังนั้น ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์หรือความอดอยากยากจนของประชาชนจึงขึ้นอยู่กับระบบการเมืองเป็นสำคัญ

   ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบการเมืองของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนคือประชาชนเป็นเจ้าของอธิปไตยดังนั้นอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของประชาชนโดยประชาชนเป็นผู้กำหนดตัวผู้ปกครองทั้งการแต่งตั้งและการถอดถอน โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการปกครองต้องเสนอตัวให้ประชาชนเชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำและมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน มีแนวทางในการสร้างสรรค์และพัฒนาชีวิตที่ดีให้กับประชาชน 

       ประชาธิปไตยประกอบไปด้วย หลักการสำคัญที่เปรียบเทียบแก่นของประชาธิปไตย 5 ประการ

1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน(popular sovereignty)  ประชาชนเป็นผู้กำหนดผู้ปกครองโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
2. หลักเสรีภาพ (liberty)  ระบอบประชาธิปไตยถือว่าประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพทั้งในการเมือง  เศรษฐกิจ และสังคม
3. หลักความเท่าเทียม(equality)  มนุษย์เกิดมาควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาศในการพัฒนาคุณภาพและ ความรู้ความสามารถเพื่อให้ประชาชนสามารถปกป้องประโยชน์ของตนได้

4. หลักฎหมาย (rule of law)  ปรัชญาสำคัญของกฎหมายคือชนชั้นใดเป็นผู้บัญญัติกฎหมายย่อมเพื่อประโยชน์ของ ชนชั้นนั้น ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยที่ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง จึงกำหนดให้ประชาชนมีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย เพื่อให้กฎหมายสะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
5. หลักเสียงข้างมาก(majority rule,minority right) ยึดหลักที่ว่าการตัดสินใจใดๆทางการเมืองต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่ จึงกำหนดให้เสียงข้างมากเป็นการตัดสิน

   การพัฒนาประชาธิปไตย ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 2 ประการคือ

1.  การพัฒนาโครงสร้างทางการเมืองการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยแนวทางนี้เป็น บันไดขั้นต้นของทุกสังคมที่จะก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตย คือการพัฒนาใหั้สังคมปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจะต้องกำหนดโครงสร้างทางการ เมือง การปกครองให้เป็นไปตามปรัชญาและหลักการประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน
2. การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หมายถึง แบบแผนทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองและองค์กรการเมือง เป็นผลมาจากกระบวนการหล่อหลอมอบรมทางการเมืองที่ถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาทั้ง ทางตรงและทางอ้อม

22910-attachment

อ้างอิง   https://sites.google.com/site/groupsocial55/home/2-phathnakar-khxng-rabxb-prachathiptiy

วีดิโอ 

อ้างอิงวีดิโอ https://www.youtube.com/watch?v=10yASldG3R8

คำถาม

1. ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินตามกระบวนการพิจารณาคดีความทางอาญาคือใคร

ตอบ  เจ้าพนักงานอัยการ

2. การกระทำผิดในคดีอาญาในข้อใดที่จะได้รับโทษขั้นสูงสุด

ตอบ  การค้ายาเสพติด

ใส่ความเห็น